เรื่องราวของไหมขัดฟันตั้งแต่จุดเริ่มต้น

ทุกครั้งที่คุณไปหาทันตแพทย์ สิ่งที่ทันตแพทย์ย้ำประจำนอกจากการแปรงฟันให้สะอาด ‘การใช้ไหมขัดฟัน’ เป็นอีกตัวช่วยใหญ่ที่ลดโอกาสการฟันผุได้ และยังลดโอกาสของโรคอื่น ๆ อีกด้วย

ถ้าไม่ใช้ฟลอสจะเกิดอะไรขึ้น

อ่านต่อได้ที่ https://www.dentiste-oralcare.com/what-happen-if-you-dont-floss/

วันนี้เรามาดูเรื่องราวของ Floss (ไหมขัดฟัน) กันดีกว่าว่า เป็นมาอย่างไร

มนุษย์มีการประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้มาเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่ก่อนประวัติกาล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของตนเอง รวมถึงมนุษย์ได้คิดค้นสิ่งที่ดูแลช่องปากตั้งแต่ก่อนที่จะคิดค้นแปรงสีฟัน มนุษย์ในสมัยโบราณกาลใช้ ‘ไม้ขัดฟัน (chewsticks)’  เพื่อทำความสะอาดฟัน และกว่าจะพัฒนาจนเกิดไหมขัดฟัน เกิดอะไรขึ้นบ้าง

น่าสนใจที่พฤติกรรมของลิงมีการนำวัตถุแบบเส้นมาขัดฟัน

– เช่นเดียวกับการใช้ไหมขัดฟัน

ไม้ขัดฟัน (Chewsticks) ที่มนุษย์โบราณนำมาขัดฟัน

– ไม้ขัดฟันสำหรับดูแลสุขภาพช่องปากของคนสมัยโบราณ

ไม้จิ้มฟันโบราณ (Ancient Toothpicks)

นักโบราณคดีได้ค้นพบสิ่งที่นอกจากไม้ขัดฟัน (chewsticks) คือ แท่งไม้ขนาดเล็กที่มีปลายแหลม 2 ด้าน สิ่งนี้ถูกเชื่อว่าเป็นวัตถุที่นำไปขัดตรงช่องระหว่างฟัน แต่ไม้ขัดฟัน (chewsticks) บางชิ้นก็มีปลายแหลมอีกด้านเพื่อที่จะดูแลช่องปากทั้งขัดฟันผิวด้านหน้าและด้านข้างได้ ภายในแท่งเดียว

ไม้จิ้มฟันโบราณนี้ก็ได้ถูกนำมาพัฒนาต่อเป็นไม้จิ้มฟันที่เห็นในปัจจุบัน

ไหมขัดฟันยุคแรกจากขนจากม้า (Horse Hair)

ในช่วงยุคโบราณ ปรากฎให้เห็นการใช้ไม้ขัดฟันและไม้จิ้มฟันได้จำนวนมาก และไม่น่าเชื่อว่า ขนม้า (Horse Hair) เป็นต้นกำเนิดของไหมขัดฟัน (Dental Floss) ในปัจจุบันและยังพบเส้นขนของม้าว่า ถูกนำไปใช้เป็นขนของแปรงสีฟันในยุคเริ่มต้น

ครั้งหนึ่ง ‘ขนม้า’ เคยถูกใช้เป็นไหมขัดฟัน


แปรงสีฟันที่ถูกดัดแปลงมาจากไม้ขัดฟันในระยะแรก

ไหมขัดฟันจากเส้นไหม (Silk Dental Floss)

จุดเริ่มต้นของไหมขัดฟันอย่างจริงจัง คาดว่าเกิดขึ้นในช่วงปี 1815 จาก ดร.ปาร์มลี (Dr. Levi Spear Parmly) ทันตแพทย์ที่ นิวออร์ลีนส์ สหรัฐอเมริกา เขาสนับสนุนให้คนไข้เริ่มขัดฟันด้วยเส้นไหมเคลือบขี้ผึ้ง (floss with a waxed silken) ซึ่งมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด ณ ขณะนั้น

หลังจากนั้นถัดมาในปี 1819 ดร.ปาร์มลีได้ออกหนังสือที่เรียกว่า “A Practical Guide to the Management of Teeth” ที่มีเนื้อหาชักชวนคนอ่านให้สร้างพฤติกรรมดูแลฟันที่ดี อย่างการแปรงฟันวันละ 2 ครั้งและใช้ไหมขัดฟันวันละ 1 ครั้ง

เส้นไหมเคลือบขี้ผึ้ง
เส้นด้ายที่มีในท้องตลาดก็สามารถใช้แทนไหมขัดฟันในสมัยก่อนได้

ไหมไนลอน Nylon
นำมาใช้แทนไหมขัดฟันในช่วงที่สินค้าไหมขึ้นราคาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ไหมขัดฟันเข้าสู่ตลาดและเกิดการจดสิทธิบัตร

ในปี 1882 บริษัท Codman และ Shutleff ผลิตไหมขัดฟันจำนวนมากในลักษณะอุตสาหกรรมที่เป็น เส้นไหมที่ไม่เคลือบขี้ผึ้ง (unwaxed silk floss)  และในปี 1898 บริษัท Johnson & Johnson จดสิทธิบัตรไหมขัดฟันและเริ่มผลิตไหมขัดฟันที่มีหลากหลายประเภททั้งชนิดเคลือบขี้ผึ้ง ไม่เคลือบขี้ผึ้งและใช้เส้นไหมขัดฟันจากเส้นด้ายชนิดเดียวกันที่นำไปใช้เย็บแผลของผู้ป่วย

อิทธิพลของสงครามมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบของไหมขัดฟัน

ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ราคาของไหมขัดฟันพุ่งทะยานสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ต้นทุนของการผลิตของไหมขัดฟันสูงขึ้นตามไปด้วย สินค้าไหมขัดฟันจึงกลายเป็นสินค้าราคาแพง ดังนั้นดร. เบส (Dr. Charles Bass) บิดาแห่งทันตกรรมป้องกัน (father of preventative dentistry) จึงเสนอและปรับเปลี่ยนไหมขัดฟันจาก ‘เส้นไหม’ กลายเป็นเส้น ‘ไนลอน (nylon)’

Fun fact: ดร.เบส ได้ชื่อว่า บิดาแห่งทันตกรรมป้องกันจากการที่เขาผลักดัน สนับสนุนแนวคิดอย่างแรงกล้า ในเรื่องของการดูแลฟัน อย่างการแปรงฟันวันละ 2 ครั้งและการใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับมาจาก ดร.ปาร์มลี (Dr. Levi Spear Parmly)

ไหมขัดฟันในในยุคโมเดิร์น

ทุกวันนี้ ไหมขัดฟันปรากฎให้เห็นหลากหลายรูปแบบ ทั้งสี ขนาด รูปร่างและกลิ่น ที่สามารถเข้าได้กับช่องปากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งช่องปากที่อ่อนแอ ดัดฟัน หรือคนฟันห่าง ก็มีใหม่ขัดฟันที่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ดี

ไหมขัดฟันในปัจจุบัน
มีให้เลือกหลากหลายเฉดสี กลิ่นและรูปแบบ

การขัดฟันไม่ใช่เรื่องที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ต้องทำทุกวัน
เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี

ไหมขัดฟันไม่ใช่สิ่งที่ทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ต้องทำทุกวันเป็นประจำ

อย่างที่ ดร.ปาร์มลีกับ ดร.เบสที่แนะนำ เป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมากจริง ๆ ที่ต้องใช้ไหมขัดฟันวันละ 1 ครั้งและแปรงฟันวันละ 2 ครั้งเพื่อให้สุขภาพช่องปากแข็งแรง ลดโอกาสของโรคที่ตามมา

เพราะราคาไหมขัดฟันกับราคาการรักษาฟันต่างกันเยอะ ลองหาไหมขัดฟันที่เหมาะกับคุณดูสิ

ลองหา FLOSS ที่มายกระดับสุขภาพช่องปากของคุณกัน